วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 4 ไฟฟ้า
เรื่อง โลหะกับการเกิดกระแสไฟฟ้า จำนวน 1 คาบ / สัปดาห์ สอนครั้งที่ 1
วันที่ ..... พฤศจิกายน พ.ศ.2552 โรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียน
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียน..... คน
ผู้สอน นางสาวลดาวัลย์ รุ่งเรือง ค.บ.4 วิทยาศาสตร์
______________________________________________________________________________
มาตรฐานการเรียนรู้ ว.5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ
โลหะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีและสามารถทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ โลหะแต่ละชนิดจะมีค่าความต่างศักย์แตกจ่างกัน ความต่างศักย์จะเกี่ยวข้องกับการไหลของอิเล็กตรอนจากจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าสูง ไปยังจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนจำแนกโลหะกับการเกิดกระแสไฟฟ้า
จุดประสงค์นำทาง
1.นักเรียนอธิบายโครงสร้างภายในของถ่านไฟฉายได้
2.นักเรียนระบุคุณสมบัติของตัวนำชนิดต่างๆได้
สาระการเรียนรู้
โลหะกับการเกิดกระแสไฟฟ้า
1. โครงสร้างของถ่านไฟฉาย
2. ตัวนำไฟฟ้าชนิดต่างๆ
กระบวนการเรียนรู้
1.ขั้นอธิบายโครงสร้างภายในของถ่านไฟฉาย
1.1 จัดทำนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย4กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-4 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน
1.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดาน แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าโครงสร้างภายในของถ่านไฟฉายมีอะไรบ้าง
นักเรียนทราบไหมว่าหน่วยของถ่านไฟฉายมีหน่วยเป็นอะไร
1.3 อธิบายเนื้อหาโครงสร้างภายในของถ่านไฟฉายประกอบด้วยอะไรบ้างบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียนลงสมุดของนักเรียนทุกคน
1.4 ปฏิบัติภาระงาน โดยให้ทำทุกคน
1.5 สะท้อนความคิดของนักเรียนถึงเรื่องโครงสร้างภายในของถ่านไฟฉาย
1.6 ถามคำถามเพิ่มเติม
1.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
2.ขั้นระบุคุณสมบัติของตัวนำชนิดต่างๆ
2.1 จัดทำนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-4 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน
2.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดาน แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าคุณสมบัติของตัวนำชนิดต่างๆมีอะไรบ้าง
นักเรียนทราบยกตัวอย่างคุณสมบัติของตัวนำกลุ่มละ 1 ข้อ
2.3 อธิบายเนื้อหาคุณสมบัติของตัวนำชนิดต่างๆบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียน ลงสมุดของนักเรียนทุกคน
2.4 ปฏิบัติภาระงาน โดยให้ทำทุกคน
2.5 สะท้อนความคิดของนักเรียนถึงเรื่องโครงสร้างภายในของถ่านไฟฉาย
2.6 ถามคำถามเพิ่มเติม
2.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1.กิจกรรมอธิบายโครงสร้างภายในของถ่านไฟฉาย
1.1.ใบรายชื่อนักเรียน ม.3
1.2.เนื้อหาเรื่องโครงสร้างภายในถ่านไฟฉาย, คำถามจำนวน 2 คำถาม
1.3.เนื้อหาเรื่องกระแสไฟฟ้า
1.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.3, สมุดจดบันทึก
1.5.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
1.6.คำถามเพิ่มเติม
1.7.ประเมินผลสรุป
2.กิจกรรมระบุคุณสมบัติของตัวนำชนิดต่างๆ
2.1.ใบรายชื่อนักเรียน ม.3
2.2.เนื้อหาเรื่องคุณสมบัติของตัวนำชนิดต่างๆ, คำถามจำนวน 2 คำถาม
2.3.เนื้อหาเรื่องคุณสมบัติของตัวนำชนิดต่างๆ
2.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.3, สมุดจดบันทึก
2.5.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
2.6.คำถามเพิ่มเติม
2.7.ประเมินผลสรุป
การวัดและประเมินผล
การวัดผล
1.วัดผลการอธิบายโครงสร้างภายในของถ่านไฟฉายด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
2.วัดผลการระบุคุณสมบัติของตัวนำชนิดต่างๆด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
การประเมินผล
1.ประเมินผลการอธิบายโครงสร้างภายในของถ่านไฟฉายพบว่า นักเรียน ..... คน อธิบายโครงสร้างภายในของถ่านไฟฉายไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่องโครงสร้างภายในของถ่านไฟฉายเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
2.ประเมินผลการระบุคุณสมบัติของตัวนำชนิดต่างๆพบว่า นักเรียน ..... คน ระบุคุณสมบัติของตัวนำชนิดต่างๆไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่องคุณสมบัติของตัวนำชนิดต่างๆเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
บันทึกผลหลังการสอน
ผลการสอน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหา / อุปสรรค
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ ...................................................... ครูผู้สอน
(นางสาวลดาวัลย์ รุ่งเรือง)
......./............/.........